
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองประโยชน์
Ban Nongprayote health promotion hospital
การป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมี

ชนิดของสารเคมีกําจัดศัตรพู ืช สารเคมีกําจัดศัตรูพืชในทางการเกษตร ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามชนิดของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ใน การควบคุมและกําจัด คือ สารเคมีกําจัดแมลง สารป้องกันกําจัดวัชพืช สารป้องกันกาจํ ัดเชื้อรา สารกําจัดหนู และสัตว์แทะ สารเคมีกําจัดหอยและปูเป็นต้น
1. สารเคมีกําจัดแมลง (Insecticide) สารเคมีกําจัดแมลงเป็นสารเคมีการเกษตรที่มีจํานวนชนิดมากที่สุด สารเคมีกําจัดแมลงแบ่งออกเป็น กลุ่มใหญ่ๆ ตามชนิดของสารเคมีได้ 4 ประเภท คือ
1.1 กลุ่มออร์กาโนคลอรีน (Organochlorine) ซึ่งเป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีคลอรีนเป็น องค์ประกอบ สารเคมีกําจัดแมลงในกลุ่มนี้ท่ีนิยมใช้กันมาก เช่น ดีดีที (DDT) ดีลดริน(Dieldrin) ออลดริน (Aldrin) ท็อกซาฟีน (Toxaphene) คลอเดน(Chlordane) และลินเดน (Lindane) เป็นต้น
1.2 กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ เช่น มาลาไธออน (Malathion) และ เฟนนิโตรไธออน (Fenitrothion) เป็นต้น
1.3 กลุ่มคาร์บาเมต (Carbamate) ซึ่งมีคาร์บาริลเป็นองค์ประกอบสําคัญ เช่น คาร์บาริล (Carbaryl) คาร์โบฟูแรน (Carbofuran) และเมโทมิล (Methomyl) เป็นต้น
1.4 กลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroid) เป็นสารเคมีกลุ่มที่สังเคราะห์ขึ้นโดยมีความสัมพันธ์ตาม โครงสร้างของไพรีทริน ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่สกัดได้จากพืชไพรีทรัม เช่น เดลตาเมธริน (Deltamethrin) เพอร์เมธริน (Permethrin) เรสเมธริน (Resmethrin) และไบโอเรสเมธริน (Bioresmethrin) เป็นต้น
2. สารป้องกันกําจัดวัชพืช (Herbicide) สารเคมีกําจัดวัชพืชแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่จําแนกตามการเลือกทําลายเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 2.1 สารชนิดเลือกทําลาย (Selective herbicide) โดยทําลายเฉพาะวัชพืช แต่ไม่เป็นอันตราย ต่อพืชที่ปลูก เช่น 2,4-D กําจัดวัชพืชใบกว้างโดยไม่เป็นพิษต่อต้นข้าวที่เป็นพืชใบแคบ เป็นต้น 2.2 สารชนิดไม่เลือกทําลาย (Non-selective herbicide) ทําลายวัชพืชใบแคบ ใบกว้าง หรือ กก แนะนําให้ใช้กําจัดวัชพืชในที่ที่ไม่มีการปลูกพืช หรือถ้าจะพ่นในที่ที่มีพืชขึ้นอยู่หรืออยู่ใกล้เคียง ต้องพ่นอย่าง ระมัดระวัง เช่น พาราควอท (Paraquat) ไกลโฟเสท (Glyphosate) เป็นต้น
3. สารกําจัดเชื้อรา (Fungicide) มีอยู่หลายกลุ่ม บางชนิดมีพิษน้อย แต่บางชนิดมีพิษมาก เช่น
3.1 กลุ่ม Dimethey Dithiocarbamates เช่น ไซแรม(Ziram) เฟอแบม (Ferbam) ไธแรม (Thiram) เป็นต้น มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Acetaldehyde dehydrogenase เกิด Antabuse Effect ในคนที่ดื่ม สุราร่วมด้วย
3.2 กลุ่ม Ethylenebisdithiocarbamates เช่น มาแนบ (Maneb) แมนโคแซบ (Mancozeb) ไซแนบ (Zineb) เป็นต้น กลุ่มนี้จะถูก Metabolize เป็น Ethylene thiourea ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์
3.3 กลุ่ม Methyl Mercury ดูดซึมได้ดีทางผิวหนังและมีพิษต่อระบบประสาท
3.4 กลุ่ม Hexachlorobenzene ยับยั้งเอนไซม์ Uroporphyrinogen Decarboxylase มีพิษ ต่อตับ ผิวหนัง ข้อกระดูกอักเสบ
3.5 กลุ่ม Pentachlorophenol สัมผัสมากๆ ทําให้ไข้สูง เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว
4. สารกําจัดหนูและสัตว์แทะ (Rodenticides) สารกําจัดหนูและสัตว์แทะที่นิยมใช้กัน ส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ตัวอย่างเช่น วอฟฟาริน (Warfarin) เป็นต้น
ข้อมูลสารเคมีกําจัดศัตรูพืชที่ต้องเฝ้าระวังที่อยู่ในรายชื่อสารเคม 12 ี ชนิด สารกําจัดศัตรูพืชที่ต้องเฝ้าระวัง 12 ชนิด ที่กรมควบคุมโรคเห็นความสําคัญเป็นสารในกลุ่มเดียวกับวัตถุ อันตรายที่กรมวิชาการเกษตรเฝ้าระวังซึ่งสารกําจัดศัตรูพืชกลุ่มนี้เป็นสารที่อยู่ในข่ายที่ต้องเฝ้าระวังในการใช้ เนื่องจากเป็นสารที่มีปริมาณการใช้มาก มีความเป็นพิษสูง หรือมีการตกค้างระยะยาวในสิ่งแวดล้อม สารทั้ง12 ชนิดนี้ประกอบด้วย 1. อัลดิคาร์บ (Aldicarb)
2. บลาสติซิดิน เอส ( Blasticidin-S)
3. คาร์โบฟูราน (Carbofuran)
4. ไดโครโตฟอส (Dicrotophos)
5. อีพีเอ็น (EPN)
6. อีโธโปรฟอส (Ethoprofos)
7. โฟมีทาเนต (Formethanate)
8. เมทิดาไธออน (Methidathion)
9. เมโทมิล (Methomyl)
10. อ๊อกซามิล (Oxamyl)
11. เอนโดซ ็ ัลแฟน (Endosulfan)
12. พาราไธออนเมทธิล(Parathion Methyl)
องค์ความรู้ด้านการก่ออันตรายของสารกําจัดศัตรูพืชที่ต้องเฝ้าระวงั เมโทมิล (Methomyl)
เอกสารแนบ :