ข้อมูลของจังหวัดตราด

โครงการชลประทานตราด
ก. ลักษณะพื้นฐานขององค์กร
วิสัยทัศน์       
" น้ำสมบูรณ์  เกื้อหนุนการเกษตร  ร่วมพัฒนาเขตท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์"
ลักษณะโครงการ
เป็นโครงการชลประทานประเภทป้องกันอุทกภัย เก็บกักน้ำและระบายน้ำ รวมทั้งป้องกันน้ำเค็ม
ที่ตั้งโครงการ
42/1  หมู่ที่ 7  ตำบลหนองเสม็ด  อำเภอเมือง  จังหวัดตราด รหัสไปรษณีย์ 23000
โทร.039-512800 FAX 039-512801
 
 
ที่ทำการ
โครงการชลประทานตราด
UploadImage
 
 พิกัด E 228465  N 1354642  ระวาง L 7018
  
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
          จังหวัดตราดตั้งอยู่ภาคตะวันออก ประมาณเส้นรุ้งที่ 1องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 102 องศาตะวันออกอยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 743 เมตร มีพื้นที่ประมาณ 2,819 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,761,875 ไร่ มีพื้นที่แยกอำเภอ ดังนี้
          1. อำเภอเมืองตราด       มีพื้นที่   938.61  ตารางกิโลเมตร
          2. อำเภอเขาสมิง          มีพื้นที่  679.19  ตารางกิโลเมตร
          3. อำเภอแหลมงอบ       มีพื้นที่  162.00  ตารางกิโลเมตร
          4. อำเภอคลองใหญ่       มีพื้นที่   50.20    ตารางกิโลเมตร
          5. อำเภอบ่อไร่             มีพื้นที่  690.00  ตารางกิโลเมตร
6. อำเภอเกาะช้าง        มีพื้นที่   154.80  ตารางกิโลเมตร
         7. อำเภอเกาะกูด          มีพื้นที่   139.00 ตารางกิโลเมตร
ระยะห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 เป็นระยะทางประมาณ 315 กิโลเมตร มีลักษณะสภาพพื้นที่ดินดำน้ำชุ่ม ฝนแปดแดดสี่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง คือ
            ทิศเหนือ       ติดต่อกับอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
           ทิศใต้           ติดต่อกับอ่าวไทย และน่านน้ำทะเล ประเทศกัมพูชา
           ทิศตะวันออก  ติดต่อกับประเทศกัมพูชา มีทิวเขาบรรทัดเป็นแนวกั้นเขตแดน
           ทิศตะวันตก    ติดต่อกับอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี


ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะเป็นลูกคลื่น  หรือลูกฟูก  และเนินเขาเตี้ยๆ ทางตอนบนของจังหวัดเป็นภูเขาและที่สูง  มีทิวเขาบรรทัดยาว  165  กิโลเมตร  ทิศตะวันออกเป็นพรมแดนไทย - กัมพูชา  และด้านตะวันตกและทางใต้มีชายฝั่งทะเล ที่มีความยาวถึง  165.5  กิโลเมตร  ทำให้มีป่าชายเลนเกิดขึ้นจำนวนมาก  มีเกาะทั้งสิ้น  52  เกาะ
แบ่งออกเป็น 4 เขตใหญ่ดังนี้
1. ที่ลาบบริเวณลุ่มน้ำ ได้แก่ ที่ราบตอนกลางและตะวันออก ประกอบด้วยลำน้ำสำคัญหลายสาย
2. ที่ราบสูงบริเวณเขา มีพื้นที่กว้างขวางมาก มีภูเขากระจายอยู่ทั่วไปแทบทุกส่วนของจังหวัด
3.ที่ราบสูงบริเวณเขา มีมากในตอนเหนือแผ่ลงมาตอนใต้ตามพรมแดนจนสุดเขตทางตอนใต้ของจังหวัด
4. บริเวณที่ลาบต่ำฝั่งทะเล ตามบริเวณฝั่งทะเลเกือบตลอดแนว เป็นบริเวณที่ถูกน้ำจากแม่น้ำลำคลองต่างๆ พัดเอาโคลนตมมาทับถมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดเป็นที่ราบต่ำขึ้น
สภาพภูมิอากาศ
จังหวัดตราดมีอากาศไม่ร้อนจัด  หรือหนาวจนเกินไป  แต่มีฝนตกชุกมากเพราะมีพื้นที่ติดทะเล และภูเขาโอบล้อม จึงทำให้อิทธิพลของลมมรสุม  แบ่งออกเป็น 3 ฤดู อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ  20-34 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย  5,000  มม./ปี
การปกครอง
การปกครองท้องที่ แบ่งตามเขตการปกครองท้องที่ จำนวน 7 อำเภอ  38  ตำบล 261 หมู่บ้าน แบ่งเป็น
1. อำเภอเมืองตราด       มี    14       ตำบล   97    หมู่บ้าน 
2. อำเภอเขาสมิง          มี      8       ตำบล   66    หมู่บ้าน
3. อำเภอแหลมงอบ      มี      4       ตำบล   27    หมู่บ้าน
4. อำเภอคลองใหญ่       มี     3        ตำบล   20    หมู่บ้าน
5. อำเภอบ่อไร่             มี      5       ตำบล   33    หมู่บ้าน
6. อำเภอเกาะกูด          มี      2       ตำบล     8    หมู่บ้าน
7. อำเภอเกาะช้าง         มี      2       ตำบล     9    หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น  มีหน่วยการปกครองดังนี้
1. องค์กรบริหารส่วนจังหวัด   จำนวน     1   แห่ง
2. เทศบาลเมือง                 จำนวน     1   แห่ง
3. เทศบาลตำบล                จำนวน   13   แห่ง
4. องค์การบริหารส่วนตำบล  จำนวน   29   แห่ง
 

 ประชากร
จังหวัดตราดมีประชากรรวมทั้งสิ้น  229,429  คน   จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 100,901 ครัวเรือน          เพศชาย  114,180  คน  หญิง  115,912  คน  โดยแยกเป็นรายอำเภอดังนี้
 
อำเภอ
 
ประชากรทั้งสิ้น ครัวเรือน เพศชาย เพศหญิง
เมืองตราด 90,763 37,580 44,350 46,413
เขาสมิง 43,917 17,399 22,136 21,781
แหลมงอบ 18,980 7,004 9,316 9,664
คลองใหญ่ 22,706 8,402 11,492 11,214
บ่อไร่ 35,032 15,438 18,050 16,982
เกาะกูด 2,532 1,437 1,349 1,183
เกาะช้าง 7,557 4,621 3,882 3,675
(ที่มาข้อมูล : ศูนย์บริการข้อมูลอำเภอ กรมการปกครอง ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2558)
การใช้ที่ดิน
พื้นที่จังหวัดตราดมีทั้งหมด  1,773,031  ไร่  มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตร  634,393  ไร่
1. อำเภอเมืองตราด   พื้นที่     216,249     ไร่
2. อำเภอเขาสมิง       พื้นที่     242,829     ไร่    
3. อำเภอแหลมงอบ  พื้นที่       54,189     ไร่   
4. อำเภอคลองใหญ่   พื้นที่        3,927     ไร่  
5. อำเภอบ่อไร่          พื้นที่       93,757     ไร่    
6. อำเภอเกาะกูด       พื้นที่       13,990     ไร่    
7. อำเภอเกาะช้าง      พื้นที่         9,456     ไร่  
ลักษณะทางกายภาพของลุ่มน้ำและลุ่มน้ำสาขา
พื้นที่จังหวัดตราดประมาณ  2,836.85  ตารางกิโลเมตร  ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก ร้อยละ  99.93  ได้แก่ แม่น้ำเวฬุ  ตราดตะวันตก  แม่น้ำตราด  ตราดตะวันออก  ส่วนที่เหลืออยู่ในลุ่มน้ำโตนเลสาป คือ  คลองโป่งน้ำร้อน 
แหล่งน้ำ/สถานที่สำคัญ ในด้านการระบายน้ำและเก็บกักน้ำ
          จังหวัดตราดมีแหล่งน้ำรวม 239 แห่ง แยกเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลางจำนวน 3 แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก จำนวน 32 แห่ง ฝายคอนกรีตจำนวน 16 แห่ง สระ หนอง บึง จำนวน 150 แห่ง คูคลอง จำนวน 38 แห่ง แม่น้ำที่สำคัญและใหญ่ที่สุดของจังหวัดตราด จำนวน 2 สาย ได้แก่
          1. แม่น้ำตราด เป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดตราด มีความยาวประมาณ 150 กิโลเมตร มีชื่อเรียกชื่อเรียกต่างไปตามบริเวณที่น้ำไหลผ่าน ต้นน้ำเกิดจากทิวเขาบรรทัดตอนเหนือที่สำคัญ คือ คลองแอ่งและคลองสะตอ จากนั้นไหลผ่าน อำเภอบ่อไร่ ซึ่งเป็นแหล่งแร่รัตนชาติที่สำคัญ ไหลผ่าน อำเภอเขาสมิง ช่วงนี้เรียกว่าคลองเขาสมิง หรือคลองใหญ่ ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในอดีตของผู้คนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามริมแม่น้ำ ปัจจุบันลำคลองนี้ก็ยังคงเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญในการเกษตร เพราะอำเภอเขาสมิงมีพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุดในจังหวัดตราด โดยเฉพาะสวนผลไม้ เมื่อไหลสู่เขต อำเภอเมืองตราด คลองเขาสมิงได้บรรจบกับคลองห้วยแร้ง ที่บริเวณปากคลองห้วยแร้ง หมู่บ้านจุฬามณี ตำบลห้วยแร้ง ในช่วงนี้เองเรียกชื่อว่าแม่น้ำตราด ในช่วงฤดูน้ำหลากน้ำในคลองเขาสมิงด้านซ้ายจะเป็นสีแดงขุ่นข้น เชี่ยวกราด ขณะที่น้ำในคลองห้วยแร้งด้านขวามีสีเขียวใส ไหลเอื่อยๆมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำกว้าง ทอดตัวยาวไกลไหลเรื่อยเข้าสู่ชุมชนใหญ่ที่ บ้านท่าเรือจ้าง แม่น้ำตราดเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญ ที่ใช้ติดต่อทั้งภายในและภายนอกประเทศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในอดีตภาพเรือสำเภาลำใหญ่ลอยลำอยู่กลางแม่น้ำตราด เป็นภาพชินตาและในบางครั้งที่น้ำขึ้น เรือสำเภาลำใหญ่สามารถเข้าเทียบฝั่งได้ หลังจากถ่ายสินค้าหมดเรือสำเภาจะผ่านชุมชนบ้านท่าเรือจ้าง อำเภอเมืองตราด เป็นช่วงสุดท้ายก่อนจะไหลลงสู่อ่าวตราด ออกสู่ทะเลตราดที่บ้านเก่า อำเภอเมืองตราด
 
 
 
            ปัจจุบันแม่น้ำตราดมีความสำคัญด้านการประมงทะเลมีท่าเทียบเรือประมงบนลำน้ำช่วงนี้ถึง7แห่ง            และมีโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำหลายแหล่ง อาที โรงงานปลากระป๋อง โรงงานปลาป่น เป็นต้น
          2. แม่น้ำเวฬุ  ต้นน้ำอยู่ในเขตจังหวัดจันทบุรี ที่เขาชะอมและเขาสระบาป มีความสำคัญเพราะไหลผ่านเขตเกษตรกรรรมของจังหวัดตราดและจังหวัดจันทบุรี ช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดตราดมีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร ไหลผ่านบ้านท่าจอด ตำบลแสนตุ้ง อำเภอเขาสมิง  ลงสู่ทะเลบริเวณอ่าวบ้านบางกระดาน อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
แหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัดตราด
          1.แม่น้ำเวฬุ        2.แม่น้ำตราด        3. คลองห้วยแร้ง         4. แม่น้ำเขาสมิง       5. คลองโสน  6. คลองฉนาก(คลองบ่อไร่)    7. คลองแอ่ง          8. คลองสะตอ

   การใช้ประโยชน์ที่ดิน
 (ในภาพรวมเป็นพื้นที่การเกษตร ที่อยู่อาศัย เป็นต้น)
โครงการ     ชลประทานตราด     มีพื้นที่ทั้งหมด   1,761,857   ไร่ เป็นพื้นที่ถือครองเพื่อทำการเกษตร   537,000   ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ   30    เป็นพื้นที่ป่าไม้   458,000   ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ   26   เป็นพื้นที่แหล่งน้ำ   24,000   ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ   1    พื้นที่อยู่อาศัย   11,000    ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ  1   และพื้นที่อื่น ๆ  731,875   ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 42   
 
 
การใช้ประโยชน์ที่ดินจากพื้นที่ถือครองเพื่อทำการเกษตร จำแนกเป็น พื้นที่ทำนา  54,000   ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ   10.06   พื้นที่ปลูกพืชไร่/พืชผัก      22,000   ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ   4.10    พื้นที่ปลูกไม้ผล/ไม้ยืนต้น   420,000  ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ   78.21    และที่เกษตรอื่น ๆ   41,000   ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ   7.63   .